เฟรนช์เกียนา
French Guiana
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศบราซิล และทางทิศตะวันตกติดกับประเทศซูรินาม
ภูมิประเทศ
เขตชายฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่
และเขตป่าดงดิบหนาทึบและเข้าถึงได้ยากซึ่งค่อย ๆ
ไล่ระดับความสูงขึ้นไปถึงยอดเขาต่าง ๆ ของทิวเขาตูมัก-อูมักตามแนวพรมแดนที่ติดกับบราซิล
จุดสูงสุดของเฟรนช์เกียนาคือ แบลวูว์เดอลีนีนี
(Bellevue de l'Inini) มีความสูง 851 เมตร
ภูเขาอื่น ๆ ได้แก่ มงมาชาลู (782 เมตร)
ปิกกูโดร (711 เมตร)
และมงแซ็งมาร์แซล
(635 เมตร) มงฟาวาร์ (200 เมตร)
และมงตาญดูว์มาอูว์รี
(156 เมตร) มีเกาะ 3 เกาะตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่ง
ได้แก่ อีลดูว์ซาลูว์
หรือหมู่เกาะแซลเวชันซึ่งเป็นที่ตั้งของเกาะเดวิลส์
และที่อาศัยของนกบนอีลดูว์กอเนตาบล์
ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งไปทางบราซิล
ประชากร
250,109
ภาษา
ภาษาฝรั่งเศส
หน่วยเงินตรา
ยูโร
การเมืองการปกครอง
เฟรนช์เกียนามีองค์กรนิติบัญญัติ
2
ส่วน คือ สภาทั่วไป (General Council) มีสมาชิก
19 คน และสภาแคว้น (Regional Council) มีสมาชิก
34 คน มาจากการเลือกตั้งทั้ง 2 สภา
เฟรนช์เกียนาจะส่งผู้แทน 2 คนไปยังสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส โดยคนแรกจะเป็นตัวแทนจากเทศบาลเมืองกาแยนและเทศบาลเมืองมากูรียา
ส่วนอีกคนหนึ่งจะเป็นตัวแทนจากพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดของเฟรนช์เกียนา
ซึ่งเขตหลังนี้ถือเป็นเขตเลือกตั้งที่มีเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นอกจากนี้เฟรนช์เกียนายังมีสมาชิกวุฒิสภา 1 คนในวุฒิสภาฝรั่งเศสด้วย
เศรษฐกิจการค้า
เฟรนช์เกียนาพึ่งพิงฝรั่งเศสอย่างมากทั้งในด้านเงินอุดหนุนและด้านสินค้า
อุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมการประมง (มีส่วนแบ่ง 3
ใน 4 ส่วนของสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ)
การทำเหมืองทองคำ และการป่าไม้ นอกจากนี้
ศูนย์อวกาศเกียนาที่เมืองกูรูยังสามารถว่าจ้างคนได้ประมาณ
1,700
คนและมีส่วนแบ่งร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(จีดีพี) อุตสาหกรรมการผลิตมีน้อยมากและเกษตรกรรมส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
การท่องเที่ยว (โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ)
กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การว่างงานเป็นปัญหาสำคัญ
โดยมีอัตราประมาณร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 30
การขนส่ง
ท่าอากาศนานาชาติหลักของเฟรนช์เกียนาคือ
ท่าอากาศยานกาแยน-โรช็องโบ
(Cayenne-Rochambeau) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมาตูรี
ชานเมืองทางทิศใต้ของเมืองกาแยน มีเที่ยวบินหนึ่งเที่ยวต่อวันไปกรุงปารีส (ท่าอากาศยานออร์ลี) และมีเที่ยวบินหนึ่งเที่ยวต่อวันมาจากกรุงปารีสเช่นกัน
เที่ยวบินจากจากเมืองกาแยนไปกรุงปารีสใช้เวลา 8 ชั่วโมง 25
นาที ส่วนจากกรุงปารีสมาที่เมืองกาแยนใช้เวลา 9 ชั่วโมง 10 นาที และนอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินสู่เมืองฟอร์-เดอ-ฟร็องส์ ปวงตาปิทร์ ปอร์โตแปรงซ์ ไมแอมี มากาปา เบเลง และฟอร์ตาเลซาอีกด้วย
ท่าเรือหลักของเฟรนช์เกียนาคือท่าเรือของเมืองเดกราเดกาน (Dégrad des Cannes) ตั้งอยู่บนชะวากทะเลของแม่น้ำมาอูว์รี ในเขตเทศบาลเรอมีร์-มงฌอลี ชานเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกาแยน
ท่าเรือเดกราเดกานสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อใช้แทนท่าเรือเก่าของกาแยนซึ่งคับแคบและไม่สามารถรับมือกับการจราจรในสมัยใหม่ได้
ปัจจุบันสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกเกือบทั้งหมดของเฟรนช์เกียนาจะต้องผ่านท่าเรือแห่งนี้
ถนนยางมะตอยจากเมืองเรชีนาไปยังเมืองแซ็ง-ฌอร์ฌ-เดอ-ลัวยาป็อก (Saint-Georges-de-l'Oyapock)
เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2547 ถือเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางจากกาแยนไปสู่ชายแดนที่ติดกับประเทศบราซิลได้อย่างสมบูรณ์
โดยปัจจุบันนี้เราสามารถขับรถบนถนนลาดยางอย่างดีจากเมืองแซ็ง-โลร็อง-ดูว์-มารอนีที่ชายแดนซูรินามไปยังเมืองแซ็ง-ฌอร์ฌ-เดอ-ลัวยาป็อกที่ชายแดนบราซิล
และจากสัญญาที่มีการลงนามระหว่างฝรั่งเศสกับบราซิลเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 สะพานข้ามแม่น้ำออยาพ็อก (Oyapock) ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติด้านตะวันออกของเฟรนช์เกียนากำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยมีกำหนดเปิดใช้งานในปี
พ.ศ. 2553 โดยสะพานแห่งนี้จะเป็นที่ข้ามดินแดนแห่งแรกที่เคยเปิดใช้ขึ้นระหว่างฝรั่งเศสกับบราซิลและระหว่างเฟรนช์เกียนากับดินแดนส่วนอื่น
ๆ ของโลก เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีสะพานแห่งอื่นที่สร้างข้ามแม่น้ำออยาพ็อก
และยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำมาโรนีซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติด้านตะวันตกด้วย
โดยมีเพียงเรือข้ามฟากไปยังเมืองอัลบีนาของซูรินามเท่านั้น
เมื่อสะพานที่เปิดใช้ เราก็จะสามารถขับรถได้อย่างต่อเนื่องจากกาแยนไปยังเมืองมากาปา เมืองหลักของรัฐอามาปาของบราซิล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น