ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์

    โปรตุเกส 
ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ เดอ วิเสนท์ (Antonio de Veesent) 
คนทั่วไป รียกว่า องคนวีเสนเป็นอัญเชิญพระราชสาสน์จากกรุงลิสบอนมายังประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ 
ให้การต้อนรับอย่างใหญ่โตและทรงให้องตนวีเสนเข้าเฝ้าด้วย และทางไทยได้มีพระราชสาสน์ตอบมอบให้องตนวีเสนเป็นผู้อัญเชิญกลับไป 

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ.2361 ได้ส่งเรือชื่อ มาลาพระนคร ออกไปค้าขายกับโปรตุเกสที่เมืองมาเก๊า 
ในการติดต่อครั้งนี้ไทยได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ขากลับข้าหลวงโปรตุเกสที่มาเก๊าได้ส่ง คาร์ลอส มานูแอล ซิลเวียรา (Carlos Manuel Silviera) 
เป็นทูตอัญเชิญพระราชสาสน์เข้ามาขอเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย พร้อมทั้งส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้มากมาย โดยให้การต้อนรับและอำนวย
ความสะดวกเป็นอย่างดี ในขณะนั้นไทยมีความประสงค์จะซื้ออาวุธปืน ซึ่งโปรตุเกสก็ยินยอมจัดหาซื้อปืนคาบศิลาให้ไทยถึง 400 กระบอก 

พ.ศ.2363 กษัตริย์โปรตุเกสมีพระราชประสงค์จะขอตั้งสถานกงสุลขึ้นในประเทศไทยของขอให้คาร์ลอส มานูแอล ซิลเวียรา เป็นกงสุลโปรตุเกสประจำประเทศไทย ซึ่งไทยก็ยอมแต่โดยดี ซึ่งนับว่าเป็นการตั้งสถานกงสุลต่างประเทศเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คาร์ลอส เดอ มานูแอล ซิลเวียรา รับราชการเป็นขุนนาง พระราชทานตำแหน่งให้เป็น หลวงอภัยพานิช 

    อังกฤษ 
สมัยรัชกาลที่ 1 พระยาไทรบุรี คือ อับดุลละ โทกุรัมซะ ตกลงเซ็นสัญญาให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก (ปีนัง) และสมารังไพร ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ตรงข้ามเกาะหมากปีละ 1,000 เหรียญ ซึ่งดินแดนเหล่านี้อยู่ในความดูแลของไทย เหตุที่พระยาไทรบุรีให้อังกฤษเช่าดินแดนทั้ง 2 นี้ ก็เพื่อหวังพึ่งอังกฤษให้พ้นจากอิทธิพลของไทย แต่อังกฤษก็พยายามผูกไมตรีกับไทย โดยให้ ฟรานซิส ไลท์ หรือกับปตันไลท์ (Francis Light) นำดาบประดับพลอยกับปิ่นด้ามเงินมาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 1 พระองค์จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า พระยาราชกปิตันซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่เข้ารับราชการเป็นขุนนาง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ 

สมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ.2365 มาร์ควิส เฮสติงส์ (Marquis Hestings) ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดีย ได้ส่งนายจอห์น ครอว์เฟิร์ด (John Craeford) หรือที่คนไทยเรียกว่า การะฟัดนำเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย พร้อมมาขอเจรจาเพื่อทำสนธิสัญญากับไทยโดยมุ่งหวังจะขยายตลาดการค้าเข้ามาในไทย ให้ไทยยอมรับการเช่าเกาะหมากและสมารังไพรของอังกฤษ ขอให้ไทยยกเลิกและลดหย่อนการเก็บภาษีบางอย่าง และต้องการมาศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของบ้านเมืองไทยให้ละเอียด เพื่อจะได้ทำแผนที่และทำรายงานเกี่ยวกับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ต่างๆ ประชากร สภาพความเป็นอยู่และความเป็นไปของไทยต่อรัฐบาลอังกฤษ แต่ปรากฏว่าการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะ

ทั้ง 2 ฝ่ายไม่เข้าใจภาษากันดีพอ ต้องใช้ล่ามแปลกันหลายต่อ ทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนไป ล่ามของทั้งสองฝ่ายเป็นพวกคนชั้นต่ำพวกกะลาสีเรือ ทำให้ขุนนางไทยและครอว์เฟิร์ดไม่เข้าใจกันประเพณีบางอย่างของไทยทำให้ฝรั่งดูถูกเหยียดหยาม เช่น ขุนนางออกรับแขกเมืองไม่ยอมสวมเสื้อ 

ครอว์เฟิร์ดไม่พอใจที่ไทยไม่ยอมอ่อนน้อมต่ออังกฤษเหมือนพวกชวาและมลายูที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ส่วนไทยไม่พอใจที่อังกฤษแสดงท่าทางเย่อหยิ่งข่มขู่ดูหมิ่นไทย ไม่เหมือนกับจีนที่ปฏิบัติตนอ่อนน้อมยินยอมทำตามระเบียบต่างๆ อย่างดี 

ไทยไม่ยอมตกลงปัญหาดินแดนไทรบุรีที่อังกฤษขอร้อง 

คอรว์ เฟิร์ดทำการสำรวจระดับน้ำตามปากอ่าวไทยเพื่อทำแผนที่ ทำให้ไทยไม่พอใจ ต่อมาครอว์เฟิร์ดได้ส่งผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำสิงคโปร์เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีต่อไทย ปรากฏว่าไทยเริ่มมีการค้าขายกับอังกฤษมากขึ้น ถึงกับมีพ่อค้าอังกฤษเข้ามาตั้งร้านค้าในกรุงเทพฯ ชื่อ โรเบอร์ต ฮันเตอร์ ( Robert Hunter) ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าขึ้นภายในประเทศไทย ต่อมานายโรเบอร์ต ฮันเตอร์ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอาวุธวิเศษ คนไทยนิยมเรียกว่า นายหันแตร


เริ่มสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษทำสงครามกับพม่า และได้ขอร้องให้ไทยยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า แต่เกิดเหตุผิดใจกันไทยจึงยกทัพกลับหมด ต่อ ลอร์ด แอมเฮิร์สต์ (Lord Amgerst) ผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำอินเดียได้ ส่งร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี (Henry Berney) เป็นทูตเข้ามาเจรจาขอทำสนธิสัญญากับไทย โดยมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

·        เพื่อขอให้ไทยส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่า
·        เพื่อต้องการตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีและหัวเมืองมลายู
·        เพื่อชักชวนให้ไทยยอมทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ
·        เพื่อสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยกับอังกฤษ
·        สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ทำเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2369 เป็นสนธิสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นี มีสาระสำคัญ ดังนี้

ไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีอันดีต่อกัน ไม่คิดร้ายหรือรุกรานดินแดนซึ่งกันและกัน
เมื่อเกิดคดีความขึ้นภายในอาณาเขตประเทศไทย ก็ให้ไทยตัดสินตามกฎหมายและขนบธรรมเนียมและประเพณีของไทย
ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และอนุญาตให้ฝ่ายตรงข้ามเช่าที่ดินเพื่อตั้งโรงสินค้า ร้านค้า หรือบ้านเรือนได้
อังกฤษยอมรับว่าดินแดนไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู เประ เป็นของไทย
ส่วนสนธิสัญญาฉบับที่ 2 เป็นสนธิสัญญาทางการค้า มีสาระสำคัญ ดังนี้

ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในไทย และห้ามนำข้าวสาร ข้าวเปลือกออกนอกประเทศไทย
อาวุธและกระสุนดินดำที่อังกฤษนำมาต้องขายให้แก่รัฐแต่ผู้เดียว ถ้ารัฐไม่ต้องการต้องนำออกไป
เรือสินค้าที่เข้ามาต้องเสียภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ
อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษค้าขายโดยเสรี
ถ้าพ่อค้าหรือคนในบังคับอังกฤษ พูดจากดูหมิ่นหรือไม่เคารพขุนนางไทย อาจถูกขับไล่ออกจากไทยได้ทันที
ผลของสนธิสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้ ทำให้ไทยกับอังกฤษมีความผูกมัดซึ่งกันและกัน มีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน ต่อมาอังกฤษต้องการได้ สิทธิภาพนอกอาณาเขต เหนือดินแดนไทย ลอร์ด ปาเมอร์สตัน (Lord Palmerston)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ จึงส่งเซอร์ เจมส์ บรุค (James Brooke) เป็นทูตมาขอแก้ไขสนธิสัญญากับไทย พ.ศ.2393 โดยขอลดภาษีปากเรือ ขอตั้งสถานกงสุลในไทย ขอนำฝิ่นเข้ามาขาย และขอนำข้าวออกไปขายนอกประเทศ แต่ขณะนั้นรัชกาลที่ 3 กำลังทรงพระประชวร จึงไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้า

    สหรัฐอเมริกา
สมัยรัชกาลที่ 2 พ่อค้าอเมริกาชื่อ กัปตันแฮน (Captain Han) เดินทางเข้ามาค้าขายที่กรุงเทพฯ เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย และได้นำปืนคาบศิลามาถวายแด่รัชกาลที่ 2 จำนวน 500 กระบอก รัชกาลที่ 2 จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น หลวงภักดีราช หรือหลวงภักดีราชกปิตัน และได้พระราชทานสิ่งของให้คุ้มค่ากับราคาปืนทั้งหมด ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้งดเว้นการเก็บภาษีจังกอบอีกด้วย

สมัยรัชกาลที่ 3 ประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจคสัน (Andrew Jackson) ได้ส่ง นายเอ็ดมันด์ โรเบอร์ต (Edmund Robert) คนไทยเรียกว่า เอมินราบัดเป็นทูตเดินทางเข้ามาขอทำสนธิสัญญาการค้ากับไทย ซึ่งมีใจความทำนองเดียวกับที่ไทยทำกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2375 และ พ.ศ.2393 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่ง นายโจเซฟ บัลเลสเตียร์ ((Joseph Balestier) เข้ามาขอแก้สนธิสัญญาฉบับเก่า แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ



ที่มา : https://sites.google.com/site/prawatisastrklum6/4-smay-ratnkosinthr/4-4-sersthkic

ความคิดเห็น