พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่
1 (พ.ศ. 2325 – 2352)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี
พ.ศ. 2325 ต่อจากพระ
เจ้าตากสินมหาราช
ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่
เรียกชื่อว่า “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์”
ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เช่น การสร้าง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดสุทัศน์เทพวรารามวัดสระเกศ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9
และถือเป็นครั้งที่
2 ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง
ตลอด
จนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้
เรียบร้อย
ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม
ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์โดยสถาปนา
พระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อปี พ.ศ. 2352
สมัยรัชกาลที่
2 (พ.ศ. 2352 – 2367)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2352
เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา
เหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง
3 พระองค์ คือ
สมเด็จพระสังฆราช (มี), สมเด็จพระสังฆราช (สุก), และสมเด็จพระสังฆราช (สอน)ในปี
พ.ศ. 2357 ทรงจัดส่งสมณทูต
8 รูป
ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา
ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้น เป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ
พ.ศ. 2360
ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย
แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการ
ฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่
ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่
ได้ขยายหลักสูตร 3 ชั้น คือ
เปรียญตรี -โท – เอก เป็น 9 ชั้น คือ
ชั้นประโยค 1 – 9
สมัยรัชกาลที่
3 (พ.ศ. 2367 – 2354)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วน
กว่ารัชกาลก่อน ๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย
ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือ
วัดเทพธิดาราม
วัดราชราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก
เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็ก
ในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น
โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตร
ของพระมอญ
ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376
แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
สมัยรัชกาลที่
4 (พ.ศ. 2394 -2411)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช 27 พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้น
ครองราชย์เมื่อพระชนมายุ
57 พรรษา ใน พ.ศ. 2239 ด้านการพระศาสนา
ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด
เช่น วัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร
วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
และวัดราชบพิตร เป็นต้น
ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี “มาฆบูชา”
ขึ้นเป็นครั้งแรก ในพ.ศ. 2394
ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้
สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 –
2453)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ.
2411 ทรงยกเลิกระบบทาสในเมืองไทยได้สำเร็จ
ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือ วัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส
วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และ
วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก
ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดให้มี
การเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย
โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ
* พ.ศ. 2427
ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม
* พ.ศ. 2414
โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง
โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น
* พ.ศ. 2435
มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ
(กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน)
โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ 39
เล่ม จำนวน 1,000 จบ
* พ.ศ. 2432
โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร
จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย
ที่วัดมหาธาตุ
* พ.ศ. 2439
ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรม
และวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร
* พ.ศ. 2436
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง “มหามกุฏราชวิทยาลัย” ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษา
พระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน
สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 -2468)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์
ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก
ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น
เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น
ถึงกับ
ทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง ทรงโปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. เมื่อ
พ.ศ. 2456 ให้
เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
* พ.ศ. 2454
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่า
มาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก
* พ.ศ. 2469
ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง
เรียกว่า “นักธรรม” โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2454 ตอนแรกเรียกว่า “องค์ของสามเณรรู้ธรรม”
* พ.ศ. 2462
ถึง พ.ศ. 2463 โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก
และคัมภีร์อื่นๆ
เช่น วิสุทธิมรรค คัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 – 2477)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 – 2473
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
เป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในเมืองไทย
แล้วทรงจัด
ให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ 45 เล่ม จำนวน
1,500 ชุด
และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 500 ชุด
โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ
และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม
โดยมีพระราชดำริว่า “การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด”
ต่อมาปี พ.ศ. 2471 กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษา
สำหรับนักเรียน
ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า “ธรรมศึกษา” ในรัชสมัยรัชกาลที่
7
ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย
เมื่อคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24
มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ.
2477 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8
สมัยรัชกาลที่
8 (พ.ศ. 2477 – 2489)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8 ในขณะพระพระชนมายุ
เพียง 9 พรรษาเท่านั้น
และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. พระไตรปิฎก
แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม
เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่อ
งานฉลอง
25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2500
2. พระไตรปิฎก
แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น 1250 กัณฑ์
เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2492
* พ.ศ. 2484
ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน
รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 14
ตุลาคม
เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับ
การปกครองแบบใหม่
* พ.ศ. 2488
มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
ชื่อ “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
* พ.ศ. 2498
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่
9 รัชกาลปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 สืบต่อมา
ทรงมีพระราชศรัทธา
ในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา
และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น
ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบันได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง
ๆ
มากมายในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นปีครบรอบ
2,500 ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2500
รัฐบาลได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งอินเดียและลังกาเรียกว่า “พุทธชยันตี”
โดยกำหนดให้วันที่ 12-14
พฤษภาคมเป็นวันหยุดราชการ
ศาลาพิธีตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน
เปิดงาน
มีผู้แทนจาก 13 ประเทศเข้าร่วม พระสงฆ์ 2,500 รูป
เจริญพระพุทธมนต์พร้อมกันดังกังวานก้องไปทั่วทุกทิศ
และมีการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนรักษาศีลห้าหรือศีลแปด ตลอด 7 วัน 7 คืน ในปี พ.ศ. 2500 นี้
รัฐบาลได้กำหนดพิธีเฉลิมฉลอง
ทั่วประเทศ มีการจัดสร้างพุทธมณฑล ขึ้น ณ ที่ดิน 2,500
ไร่ ระหว่างกรุงเทพ-นครปฐม แล้วสร้างพระมหาพุทธปฏิมา
ปางประทับยืนลีลาสูง
2500 นิ้ว ภาย
ในบริเวณรอบองค์พระมีภาพจำลองพระพุทธประวัติ และมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา
ได้ปลูกต้นไม้ที่มีชื่อในพระพุทธศาสนา
เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น
สร้างพระพิมพ์ปางลีลาเป็นเนื้อชินและเนื้อผง
จำนวน 4,842,500 องค์
พิมพ์พระไตรปิฎกแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และบูรณะปูชนียสถานวัด
วาอารามทั่วพระราชอาณาจักร อุปสมบทพระภิกษุจำนวน 2,500 รูป
และนิรโทษกรรมแก่นักโทษ ประกวด
วรรณกรรม
ศิลปะทางพระพุทธศาสนา โดยเชิญผู้แทนพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาร่วมอนุโมทนา ในปัจจุบันนี้มีประชากรไทยนับถือพุทธศาสนา
มากกว่าร้อยละ 94 และมีพุทธศาสนิกชนมากเป็นอันดับ
4 ของโลก (รองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม
ตามลำดับ)
ที่มา : https://sites.google.com/site/prawatisastrklum6/4-smay-ratnkosinthr/4-3-sasna
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น